ธรรม และเพลงบูชา :

บทสวดสิบสองตำนาน

บทสวดสิบสองตำนาน
                                                               บทสวด 12 ตำนาน
ชุมนุมเทวาดา
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,

(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี ชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน บนต้นไม้
และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบก และที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย จงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ที่เรากล่าวอยู่นี้,)

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

(ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ฯ)
                               บทนะมะการะสิทธิคาถา
          บทนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต เป็นบทนมัสการเก่า ที่พระสงฆ์ ใช้เจริญพระพุทธมนต์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
                            สัมพุทเธ 
สัมพุทเธ  อัฏฐะวีสัญจะ  ทะวาทะสัญจะ 
สะหัสสะเก  ปัญจะสะตะสะหัสสานิ  นะมามิ 
สิระสา  อะหัง  เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ 
อาทะเรนะ  นะมามิหัง  นะมะการานุภาเวนะ 
หันตะวา  สัพเพ  อุปัททะเว  อะเนกา 
อันตะรายาปิ  วินัสสันตุ  อะเสสะโตฯ
สัมพุธเธ  ปัญจะปัญญาสัญจะ 
จะตุวีสะติสะหัสสะเก  ทะสะสะตะสะหัสสานิ 
นะมามิ  สิระสา  อะหัง  เตสัง  ธัมมัญจะ 
สังฆัญจะ  อาทะเรนะ  นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ  หันตะวา  สัพเพ 
อุปัททะเว อะเนกา  อันตะรายาปิ  วินัสสันตุ 
อะเสสะโตฯ
สัมพุธเธ  นะวุตตะระสะเต 
อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก  วีสะตะสะหัสสานิ 
นะมามิ  สิระสา  อะหัง เตสัง  ธัมมัญจะ 
สังฆัญจะ  อาทะเรนะ  นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ  หันตะวา  สัพเพ 
อุปัททะเว อะเนกา  อันตะรายาปิ
วินัสสันตุ  อะเสสะโตฯ
คำแปล
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า
๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า
ขอนอบน้อม พระธรรมด้วย  พระสงฆ์
ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ด้วยความเคารพ  ด้วยอานุภาพ
แห่งการกระทำความนอบน้อมจงขจัดเสีย
ซึ่งสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง
แม้อันตรายทั้งหลาย เป็นอเนกจงพินาศไปสิ้น
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า
,๐๒๔,๐๕๕  พระองค์ด้วยเศียรเกล้า
ขอนอบน้อม พระธรรมด้วย  พระสงฆ์
ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม
จงขจัดเสีย ซึ่งสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง
แม้อันตรายทั้งหลาย
เป็นอเนกจงพินาศไปสิ้น
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า
,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า
ขอนอบน้อม พระธรรมด้วย  พระสงฆ์
ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ด้วยความเคารพ 
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม
จงขจัดเสียซึ่งสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง
แม้อันตรายทั้งหลาย
เป็นอเนกจงพินาศไปสิ้น เทอญฯ
                  
                       นะมะการะสิทธิคาถา (แบบใหม่)
คาถานมัสการพระรัตนตรัยให้สำเร็จในสิ่งปรารถนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส   ทรงนิพนธ์
                               โย จักขุมา*
โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฎโฐ
สามัง วะ พุทโธ สุคะโต  วิมุตโต
มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต
ปาเปสิ เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง
พุทธัง วะรันตัง สิระสา  นะมามิ
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุฯ
ธัมโม  ธะโช  โย วิยะ  ตัสสะ  สัตถุ
ทัสเสสิ โลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง
นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะ ธารี
สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณฯ
ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุฯ
สัทธัมมะเสนา สุคะตานุโค โย
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะเชตา
สันโต  สะยัง สันตินิโยชะโก จะ
สะวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติฯ
สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
พุทธานุพุทธัง  สะมะสีละทิฏฐิง
ตันเตชะสา  เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
สัพพันตะรายา  จะ  วินาสะเมนตุฯ
คำแปล
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด  มีพระปัญญาจักษุขจัดมลทินคือโมหะได้แล้ว  ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยพระองค์เอง  เสด็จไปดีหลุดพ้นอย่างประเสริฐแล้ว  ทรงเปลื้องหมู่ชนที่สามารถแนะนำได้  ให้พ้นจากบ่วงมารนำมาให้ถึงความเกษมด้วย  ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐพระองค์นั้น  ผู้เป็นที่พึ่งและเป็นผู้นำชาวโลก  ด้วยเดช       พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น  ขอท่านจงประสบชัยชนะและขออันตราย    ทั้งปวงจงพินาศไปฯพระธรรมใด  เป็นประหนึ่งธงชัยของพระศาสดาพระองค์นั้น  ชี้ทางแห่งความบริสุทธิ์แก่โลก  นำหมู่สัตว์ก้าวข้ามยุคเข็ญ  คุ้มครองชนผู้ประพฤติธรรม  ผู้ประพฤติดีแล้วย่อมนำความสงบสุขมาให้  ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระธรรมอันประเสริฐนั้น  อันทำลายเสียซึ่งโมหะ  ระงับความเร่าร้อนลงเสียได้  ด้วยเดชพระธรรมนั้น  ขอท่านจงประสบชัยชนะ  และขออันตรายทั้งปวงจงพินาศไปฯพระสงฆ์ใด  เป็นกำลังประกาศพระสัทธรรม  ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างพระบรมศาสดาผู้เสด็จไปดีแล้ว  ผจญเสียซึ่งอุปกิเลสอันลามกของโลก  เป็นผู้สงบเองด้วย  ทั้งยังสามารถแนะนำผู้อื่นให้เข้าถึงความสงบได้ด้วย  เผยแผ่พระธรรมที่พระบรมศาสดาประกาศดีแล้วให้มีผู้รู้ตาม  ข้าพระพุทธเจ้า  ขอน้อมนมัสการพระสงฆ์ผู้ประเสริฐนั้น  ผู้ตรัสรู้ตาม พระพุทธเจ้า  มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน  ด้วยเดชพระสงฆ์นั้น  ขอท่านจงประสบชัยชนะ  และขออันตรายทั้งปวงจงพินาศไป  เทอญฯ
                           นะโมการะอัฏฐะกะ
นโม อรหโต สมฺมา               สมฺพุทฺธสฺส มเหสิโน
นโม อตฺตมธมฺมสฺส               สฺวากฺขาตสฺเสว เตนิธ
นโม มหาสงฺฆสฺสาปิ              วิสุทฺธสีลทิฏฺฐิโน
นโม โอมาตฺยารทฺธสฺส            รตนตฺตยสฺส สาธุกํ
นโม โอมกาตีตสฺส                ตสฺส  วตฺถุตฺตยสฺสปิ
นโมการปฺปภาเวน                วิคจฺฉนฺตุ อุปทฺทวา
นโมการานุภาเวน                 สุวตฺถิ โหตุ สพฺพทา
นโมการสฺส เตเชน                วิธิมฺหิ โหมิ เตชวา ฯ

คำแปล
     ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่
     ขอนอมน้อมแด่พระธรรมอันสูงสุดในศาสนานี้ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว
     ขอนอมน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้มีศีลและทิฏฐิอันบริสุทธิ์
     การนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า
อ (ย่อมาจาก อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสา)
อุ (ย่อมาจาก อุตฺตมธมฺมสฺส)
ม (ย่อมาจาก มหาสงฺฆสฺส) เป็นการดี
     ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยทั้ง ๓ นั้น อันล่วงพ้นโทษต่ำช้าด้วยอำนาจแห่งการนอบน้อม ขออุปัททวะทั้งหลายจงพินาศไปด้วยอานุภาพแห่งการนอบน้อม  ขอความสวัสดีจงมีตลอดกาลทุกเมื่อ
     ด้วยเดชแห่งการนอบน้อม ขอเราจงมีเดชในมงคลพิธีเถิด
มังคะละสุตตัง
บทขัดมังคะละสุตตัง

เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ โลกันตะเร วา
ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุระคะณะคะหะณัพยาวะฏา สัพพะกาลัง
เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะกะมะเย เมรุราเช วะสันโต สันโต
สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมัคคัง สะมัคคัง ฯ

สัพเพสุ จักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน
ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติสาธะกัง
สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา สะมัคคา สาสะเน ระตา
ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ วิเสสะโต
สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ สัพพะทา
สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน
อะนีฆา สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ

ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง
จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง
กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง นาวะ พรัหมะนิเวสะนา
ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง
ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา
เอวะมาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณามะ เห ฯ

(คำแปล) บทขัดมังคะละสุตตัง
เทพเจ้าเหล่าใด เป็นภุมมเทวดา แลมิใช่ภุมมเทวดาก็ดี ผู้มีจิตอันรำงับ มีพระไตรรัตน์เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก ซึ่งอยู่ในโลกนี้หรือในระหว่างโลก ผู้ขวนขวายในการถือเอาซึ่งหมู่แห่งคุณสิ้นกาลทั้งปวง ขอเทพเจ้าเหล่านั้น จงมา อนึ่ง ขอเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ ณ เขาเมรุราชแล้วด้วยทองอันประเสริฐ จงมาด้วย ขอเทพเจ้าเหล่าสัปบุรุษ จงมาสู่ที่สมาคม เพื่อฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ เป็นธรรมอันเลิศ เป็นเหตุแห่งความยินดียักษ์ทั้งหลาย แลเทพเจ้าทั้งหลาย พรหมทั้งหลายในจักรวาลทั้งหมด จงมาด้วยบุญอันใดให้สำเร็จสมบัติทั้งปวงอันเราทั้งหลายกระทำแล้ว ขอเหล่าเทพเจ้าทั้งสิ้น จงอนุโมทนา ซึ่งบุญอันนั้นแล้วพร้อมเพรียงกันยินดีในพระศาสนา เป็นผู้ปราศจากความประมาท ในอันที่จะรักษาพระศาสนา แลโลกเป็นพิเศษ ขอความเจริญจงมีทุกเมื่อ ขอเทพเจ้าทั้งหลาย จงอภิบาลแม้ซึ่งพระศาสนา แลโลกในกาลทุกเมื่อ
ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายพร้อมด้วยบริวารทั้งหลายของตน จงเป็นผู้มีสุขสำราญ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ สบายใจพร้อมด้วยญาติทั้งหมด
มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดามาดำริหามงคลอันใดสิ้น ๑๒ ปี มนุษย์แลเทวดาเหล่านั้นในหมื่นจักรวาล แม้เมื่อคิดหาสิ้นกาลนาน ก็มิได้รู้ซึ่งมงคลอันนั้น ด้วยกาลมีประมาณเท่าใด โกลาหลเกิดแล้ว ตราบเท่าที่อยู่แห่งพรหม สิ้นกาลมีประมาณเท่านั้น สมเด็จพระโลกนาถได้เทศนามงคลอันใด เครื่องยังลามกทั้งสิ้น ให้ฉิบหายไป นรชนทั้งหลายนับไม่ถ้วน ได้ฟังมงคลอันใดแล้ว พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เราทั้งหลาย จงกล่าวมงคลอันนั้น อันประกอบด้วยคุณ มีอย่างนี้เป็นต้นเทอญ
มังคะละสุตตัง
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สาเทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ
- อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโหอะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโหอะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตากาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนังกาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนังนิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติอะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตาสัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
 (คำแปล) มังคะละสุตตัง
ข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีครั้งนั้นแลเทพดาองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งนัก ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดานั้นยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่าหมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงเทศนามงคลอันสูงสุด
- ความไม่คบชนพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ ความบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑ การงานทั้งหลายไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑ ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน ๑ ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ ความเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑ ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่มีโศก ปราศจากธุลีเกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.
ระตะนะสุตตัง
- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
- ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตังนะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตังเอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโตนะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิอิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุสะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนังปะณีตังเอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิอิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิเต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานาอิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโยตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติอิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วาวุตตาอิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเหตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะอิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิอิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ- ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิงเต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
(คำแปล) ระตะนะสุตตัง
- หมู่ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้ดีใจและจงฟังภาษิตโดยเคารพ เพราะเหตุนั้นแล ท่านภูตทั้งปวงจงตั้งใจฟัง กระทำไมตรีจิต ในหมู่มนุษยชาติ ประชุมชนมนุษย์เหล่าใด ย่อมสังเวยทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาหมู่มนุษย์เหล่านั้น
- ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันใดอันหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันใด อันประณีตในสวรรค์ รัตนะอันนั้นเสมอด้วยพระตถาคตเจ้าไม่มีเลย แม้อันนี้ เป็นรัตนะ อันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- พระศากยมุนีเจ้า มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมฤตธรรมอันประณีต สิ่งไรๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิอันใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิอันใด ว่าให้ผลโดยลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นเป็นสาวกของพระสุคต ควรแก่ทักษิณาทาน ทานทั้งหลาย อันบุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ในศาสนาพระโคดมเจ้า ประกอบดีแล้ว มีใจมั่นคง มีความใคร่ ออกไปแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ถึงพระอรหัตผลที่ควรถึงหยั่งเข้าสู่พระนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดยเปล่าๆ แล้วเสวยผลอยู่ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- เสาเขื่อนที่ลงดินแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยพายุ ๘ ทิศ ฉันใด ผู้ใด เล็งเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม อุปมาฉันนั้น แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- พระโสดาบันจำพวกใด กระทำให้แจ้งอยู่ ซึ่งอริยสัจทั้งหลายอันพระศาสดาผู้มีปัญญาอันลึกซึ้งแสดงดีแล้ว พระโสดาบันจำพวกนั้น ยังเป็นผู้ประมาทก็ดี ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ (คือเกิดอีกอย่างมาก ๗ ชาติ) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระโสดาบัน ละได้แล้ว พร้อมด้วยทัสสนะสมบัติ (คือโสดาปัตติมรรค) ทีเดียว อนึ่งพระโสดาบันเป็นผู้พ้นแล้ว จากอบายทั้ง ๔ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอภิฐานทั้ง ๖ (คืออนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- พระโสดาบันนั้น ยังกระทำบาปกรรม ด้วยกายหรือวาจาหรือใจได้บ้าง (เพราะความพลั้งพลาด) ถึงกระนั้นท่านไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความเป็นผู้มีทางพระนิพพาน อันเห็นแล้ว ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- พุ่มไม้ในป่า มียอดอันบานแล้ว ในเดือนต้นคิมหะแห่งคิมหฤดูฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย มีอุปมาฉันนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชสิ้นไปแล้ว มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว เป็นผู้มีปัญญา ย่อมปรินิพพานเหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี
- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระธรรมอันมาแล้วอย่างนั้น อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี
- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี.
กะระณียะเมตตะสุตตัง
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ทีฆา วา เย มะหันตา วามัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ภูตา วา สัมภะเวสี วา
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตานะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะมาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง
อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเขเอวัมปิ สัพพะภูเตสุ
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง **เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณังอุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตังติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา
สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธเอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
ทัสสะเนนะ สัมปันโนกาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
*******************************

กรณียเมตตสูตร(แปล)
- กุลบุตรผู้ฉลาด พึงกระทำกิจที่พระอริยเจ้าผู้บรรลุแล้วซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่สงบระงับได้กระทำแล้ว
- กุลบุตรนั้งพึงเป็นผู้องอาจ ซื่อตรงและประพฤติตรงดี เป็นผู้ที่ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนโยน ไม่มีมานะอันยิ่ง
- เป็นผู้สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย เป็นผู้ประพฤติทำให้กายและจิตเบา
- มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันสงบนิ่ง มีปัญญาฆ่ากิเลส เป็นผู้ไม่คะนอง กาย วาจา ใจ และไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
-ไม่พึงกระทำกรรมที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายติเตียน ผู้อื่นว่าทำแล้วไม่ดี
- พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข
มีจิตเกาะพระนิพพานแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย
และจงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขทุกเมื่อเถิด
-ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ทั้งที่มีตัณหาเครื่องทำใจให้สะดุ้งอยู่ และผู้มั่นคงคือไม่มีตัณหาแล้ว ทั้งที่มีกายยาว ใหญ่ปานกลาง หรือกายสั้น หรือผอม อ้วน เป็นผู้ที่เราเห็นแล้วก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี อยู่ในที่ไกลหรือในที่ไม่ไกล ทั้งที่เกิดมาในโลกนี้แล้ว และที่ยังกำลังแสวงหาภพเป็นที่เกิดอยู่ดี จงเป็นเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขเถิด
- สัตว์อื่นอย่าพึงรังแกข่มเหงสัตว์อื่น อย่าพึงดูหมิ่นใครในที่ใด ๆ เลย
- ไม่ควรปรารถนาให้กันและกันมีความทุกข์ เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความเคียดแค้นกันเลย
- มารดาย่อมตามรักษาบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด
- กุลบุตรพึงเจริญเมตตาจิตในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวงทั้งหลายแม้ฉันนั้น
- บุคคลพึงเจริญเมตตาให้มีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น
- ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง การเจริญเมตตาจิตนี้เป็นธรรมอันไม่แคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู
- ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงเพียงใด
- ก็สามารถตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกิริยาอย่างนี้ว่า เป็นการเจริญพรหมวิหารในศาสนานี้
- บุคคลผู้ที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงความเห็นผิด เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยความเห็นคือปัญญา
- นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความเข้าไปนอนในครรภ์เพื่อเกิดอีกโดยแท้แลฯ
ขันธะปะริตตะคาถา
วิรูปักเขหิ เม เมตตัง ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย
เมตตัง เอราปะเถหิ เม ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลเอราบทด้วย
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย

เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลายสกุลกัณหาโคตมกะด้วย
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีเท้าด้วย
เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสองเท้าด้วย
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสี่เท้าด้วย
เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีหลายเท้าด้วย
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา
มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก สัตว์สองเท้าอย่าเบียดเบียนเรา
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ สัตว์สี่เท้าอย่าเบียดเบียนเรา
มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท สัตว์หลายเท้าอย่าเบียดเบียนเรา
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา ขอสรรพสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย
สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา ที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด
มา กิญจิ ปาปะมาคะมา โทษลามกใดๆ อย่าได้มาถึงแล้ว แก่สัตว์เหล่านั้น
อัปปะมาโณ พุทโธ พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ
อัปปะมาโณ ธัมโม พระธรรม ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ
อัปปะมาโณ สังโฆ พระสงฆ์ ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณนาภี สะระพู มูสิกา สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขา แมงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ ล้วนมีประมาณ
กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ความรักษา อันเรากระทำแล้ว การป้องกัน อันเรากระทำแล้ว
ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ หมู่สัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสีย
โสหัง นะโม ภะคะวะโต เรานั้น กระทำนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่
นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ กระทำนอบน้อม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ็ดพระองค์อยู่
โมระปะริตตัง
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

(คำแปล) โมระปะริตตัง
พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง อุทัยขึ้นมา
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าทั้งหลาย
อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวงพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้า อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้าความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้าจงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธรรม นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้วจึงเที่ยวไป เพื่ออันแสวงหาอาหาร
พระอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทองยังพื้นปฐพีให้สว่าง ย่อมอัสดงคตไป
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าทั้งหลาย
อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวงพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้า อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้าความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้าจงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธรรม นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้วจึงสำเร็จความอยู่แล.
วัฏฏะกะปะริตตัง

อัตถิ  โลเก สีละคุโณ         คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก
สัจจัง  โสเจยยะนุททะยา    ความสัจ  ความสะอาดกาย และความเอ็นดูมีอยู่ในโลก
เตนะ  สัจเจนะ  กาหามิ      ด้วยคำสัจนั้น ข้าพเจ้าจักกระทำ
สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง        สัจจะกิริยาอันเยี่ยม
อาวัชชิตวา  ธัมมะพะลัง      ข้าพเจ้าพิจารณาซึ่งกำลังแห่งธรรม
สะริตวา  ปุพพะเก  ชิเน      และระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายใน         
                                    ปางก่อน
สัจจะพะละมะวัสสายะ         อาศัยกำลังแห่งสัจจะ
สัจจะกิริยะมะกาสะหัง         ขอกระทำสัจจะกิริยา
สันติ  ปักขา  อะปัตตะนา    ปีกทั้งหลายของข้ามีอยู่แต่บินไม่ได้
สันติ  ปาทา  อะวัญจะนา   เท้าทั้งหลายของข้ามีอยู่แต่เดินไม่ได้
มาตา  ปิตา  จะ  นิกขันตา   มารดาและบิดาของข้าออกไปหา                                            อาหาร
ชาตะเวทะ  ปะฎิกกะมะ       ดูก่อนไฟป่า   ขอท่านจงหลีกไป
สะหะ  สัจเจ  กะเต  มัยหัง    ครั้นเมื่อสัจจะ อันเรากระทำแล้ว
มะหาปัชชะลิโต  สิขี            เปลวไฟอันรุ่งเรืองใหญ่
วัชเชสิ  โสฬะสะ  กะรีสานิ     ได้หลีกไป  พร้อมกับคำสัตย์
อุทกัง  ปัตวา  ยะถา  สิขี       ประหนึ่งเปลวไฟอันตกถึงน้ำ
สัจเจนะ  เม  สะโม  นัตถิ       สิ่งไรเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี
เอสา  เม  สัจจะปาระมีติ.       นี้เป็นสัจจะบารมีของเราดังนี้แล
อาฏานาฏิยะปะริตตัง
วิปัสสิสสะ  นะมัตถุ  
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า  จงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า
จักขุมันตัสสะ  สิรีมะโต      
ผู้มีจักษุ  ผู้มีสิริ
สิขิสสะปิ  นะมัตถุ          
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า  จงมีแด่พระสิขีพุทธเจ้า
สัพพะภูตานุกัมปิโน                  
ผู้มีปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
เวสสะภุสสะ  นะมัตถุ          
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า  จงมีแด่พระเวสสะภูพุทธเจ้า
นะหาตะกัสสะ  ตะปัสสิโน          
ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว  ผู้มีตบะ
นะมัตถุ  กะกุสันธัสสะ      
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า
มาระเสนัปปะมัททิโน          
ผู้ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนามาร
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ      
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระโกนาคมนะพุทธเจ้า
พราหมะณัสสะ  วุสีมะโต      
ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว  ผู้มีพรหมจรรย์    อันอยู่จบแล้ว
กัสสะปัสสะ  นะมัตถุ          
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า
วิปปะมุตตัสสะ  สัพพะธิ      
ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
อังคีระสัสสะ  นะมัตถุ          
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า
สักยะปุตตัสสะ  สิรีมะโต      
ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราช   ผู้มีสิริ
โย  อิมัง  ธัมมะมะเทเสสิ      
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด    ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้
สัพพะทุกขาปะนูทะนัง      
เป็นเครื่องบรรเทาเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง
เย  จาปิ  นิพพุตา  โลเก      
อนึ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด  ที่ดับกิเลสแล้วในโลก
ยะถาภูตัง   วิปัสสิสุง          
เห็นแจ้งธรรมตามเป็นจริง
เต  ชะนา  อะปิสุณา          
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น  เป็นผู้ไม่มีความส่อเสียด
มะหันตา   วีตะสาระทา             
เป็นผู้ใหญ่     ผู้ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว
หิตัง   เทวะมะนุสสานัง    ยัง  นะมัสสันติ โคตะมัง              
    เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย       ผู้นอบน้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้า พระองค์ใด    ผู้เป็นโคตมโคตร   ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูล  แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายวิชชาจะระณะสัมปันนัง    มะหันตัง  วีตะสาระทัง
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ  เป็นผู้ใหญ่   ผู้มีความครั่นคร้ามปราศจากไปแล้ว
วิชชาจะระณะสัมปันนัง    พุทธัง  วันทามะ  โคตะมันติ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น   ผู้โคตมโคตร ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา  และจรณะเป็นอันดีแล้วแล.
สักกัตตะวา
สักกัตตะวา พุทธะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระพุทธรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
หิตัง เทวะมะนุสสานัง
เป็นประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทธะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี
สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี
สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
ขอภัยทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี
สักกัตตะวา สังฆะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระสงฆรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
สังฆะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
โรคา วูปะสะเมนตุ เต
ขอโรคทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี
อังคุลิมาละปะริตตัง
                ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตาฯ  เตนะ สัจเจนะ  โสตถิ  เต โหตุ โสตถิ  คัพภัสสะ
               ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตาฯ  เตนะ  สัจเจนะ โสตถิ  เต โหตุ โสตถิ  คัพภัสสะ
               ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตาฯ เตนะ  สัจเจนะ โสตถิ เต  โหตุ โสตถิ  คัพภัสสะ
โพชฌังคะปะริตตัง
โพชฌังโค  สะติสังขาโต    ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
    โพชฌงค์ ประการ คือ   สติสัมโพชฌงค์,ธรรมะวิจะยะสัมโพชฌงค์,วิริยัมปีติ  ปัสสัทธิ    โพชฌังคา  จะ  ตะถาปะเร
    วิริยะสัมโพชฌงค์   ปีติสัมโพชฌงค์   ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์,
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา    สัตเตเต  สัพพะทัสสินา    
มุนินา  สัมมะทักขาตา    ภาวิตา  พะหุลีกะตา
สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้วอันบุคคลมาเจริญและทำให้มากแล้ว
สังวัตตันติ  อะภิญญายะ    นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ และเพื่อพระนิพพาน
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ    โสตถิ  เต  โหนตุ  สัพพะทา
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้    ขอความสวัสดี  จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกัสมิง  สะมะเย  นาโถ    โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
ในสมัยหนึ่งพระโลกนาถเจ้าทอดพระเนตรพระโมคคัลลานะและพระกัสสปะ
คิลาเน  ทุกขิเต  ทิสวา     โพชฌังเค  สัตตะ  เทสะยิ
เป็นไข้ได้รับความลำบากถึง  ทุกขเวทนาแล้ว ทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการให้ท่านทั้ง 2 ฟัง
เต  จะ  ตัง  อะภินันทิตวา     โรคา  มุจจิงสุ  ตังขะเณ
ท่านทั้ง 2 ก็เพลิดเพลินพระธรรมเทศนานั้นหายโรคในบัดดล
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เตโหตุ สัพพะทา                    
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้    ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกะทา  ธัมมะราชาปิ          เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ครั้งหนึ่งแม้พระธรรมราชาเองทรงประชวรเป็นไข้
จุนทัตเถเรนะ  ตัญเญวะ    ภะณาเปตวานะ  สาทะรัง
รับสั่งให้พระจุนทเถระ แสดงโพชฌงค์นั้นถวายโดยความเคารพ
สัมโมทิตวา  จะ  อาพาธา    ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
    ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย    หายจากพระประชวรนั้นโดยพลัน
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ    โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา        
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้   ขอความสวัสดี  จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ปะหีนา  เต  จะ  อาพาธา    ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง            
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น   อันพระมหาฤๅษีทั้ง 3 องค์ หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
มัคคาหะตะกิเลสาวะ         ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง              
ดุจดังกิเลสอันมรรคกำจัดแล้วถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดาฉะนั้น
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ    โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา ฯ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ
นัตถิเม สะระณัง
บทที่น้อมระลึงถึงคุณพระรัตนตรัย  อ้างเป็นสัจวาจา  เพื่อให้เกิดชัยมงคล
นัตถิ   เม   สะระณัง   อัญญัง   พุทโธ   เม   สะระณัง   วะรัง
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ   โหตุ   เต   ชะยะมังคะลังฯ
นัตถิ   เม   สะระณัง   อัญญัง  พุทโธ   เม   สะระณัง   วะรัง
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ  โหตุ   เต   ชะยะมังคะลังฯ
นัตถิ   เม   สะระณัง   อัญญัง  พุทโธ   เม   สะระณัง   วะรัง
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ   โหตุ   เต   ชะยะมังคะลังฯ
คำแปล
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี   พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
ของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้   ของชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี       พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
ของข้าพเจ้า  ด้วยคำสัตย์นี้   ของชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี      พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
ของข้าพเจ้า  ด้วยคำสัตย์นี้   ของชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ยังกิญจิ ระตะนัง
บทที่น้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย  
ซึ่งเป็นรัตนะที่มีพลานุภาพสู้สุดกว่า
รัตนะทั้งมวลในโลก  เพื่อให้เกิดความสวัสดีมงคล
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก   วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง   พุทธะสะมัง นัตถิ  ตัสสะมา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก  วิชชะติ วิวิธัง   ปุถุ  ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ   ตัสสะมา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก  วิชชะติ วิวิธัง   ปุถุ  ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสสะมา  โสตถี  ภะวันตุ เตฯ    
 คำแปล
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย  บรรดามีในโลก 
รัตนะนั้นเสมอด้วย 
พระพุทธเจ้าหามีไม่  เพราะเหตุนั้น
ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีทั้งหลาย
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย  บรรดามีในโลก 
รัตนะนั้นเสมอด้วย 
พระธรรมเจ้าหามีไม่  เพราะเหตุนั้น
ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีทั้งหลาย
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย  บรรดามีในโลก 
รัตนะนั้นเสมอด้วย พระสงฆ์เจ้าหามีไม่ เพราะเหตุนั้น
ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีทั้งหลาย

อะภะยะปะริตตัง
ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ 
ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ 
ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ 




เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
........ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ
สัพเพ เทวานุโมทันตุ
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ
ภาวะนาภิระตา โหนตุ
.. สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา.
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ
ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ

..........ขอ สัตว์ทั้งปวง ที่ประสบทุกข์ จงพ้นจากทุกข์ที่ประสบภัย จงพ้นจากภัย และที่ประสบความโศกจงพ้นจากความโศกเสียได้เถิด และขอเทวดาทั้งปวง จงได้อนุโมทนาซึ่งบุญสมบัติอันข้าพเจ้าทั้งหลายได้สร้างสมไว้แล้วนี้ เพื่อความสำเร็จ
แห่งสมบัติทั้งปวงมนุษย์ ทั้งหลาย จงให้ทานด้วยใจศรัทธา รักษาศีลตลอดกาลทั้งปวง ทวยเทพทั้งหลาย ที่มาชุมนุมแล้วขอเชิญกลับเถิด
.........พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงถึงพร้อม ด้วยพละธรรม
ด้วยเดชแห่งพละธรรมของ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และ
ด้วยเดชแห่งพละธรรม ของพระอรหันต์ทั้งหลายขอให้ข้าพเจ้า
จงคุ้มครองรักษา ความดีไว้ได้โดยประการทั้งปวงเทอญ

อิติปิโส
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง ) วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ) สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็ครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ(เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเนยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
อัญชะลีกะระนีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )
บทถวายพรพระ

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)มหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
นักขัตตะยักขะภูตานัง (มงคลจักรวาลใหญ่)
สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ
 ด้วยอานุภาพ แห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง ผู้มีบุญญาธิการอันกำหนดมิได้ ด้วยพระฤทธิ์อันใหญ่ และพระคุณอันใหญ่ อันสำเร็จด้วยพระสิริ พระปัญญาเป็นเครื่องตั้งมั่น พระปัญญาเป็นเครื่องรู้ พระเดชและพระชัยผู้สามารถห้ามเสียซึ่งสรรพอันตราย
อะสีตยาพยัญชะนานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐
อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งมงคล ๑๐๘ ประการ
ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ
เกตุมาลานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเกตุมาลา
ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระบารมี ๑๐ ประการ
ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระอุปปารมี ๑๐ ประการ
ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระปรมัตถปารมี ๑๐ ประการ
สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งศีล สมาธิ ปัญญา
พุทธานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธรัตนะ
ธัมมานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมรัตนะ
สังฆานุภาเวนะ        ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆรัตนะ
เตชานุภาเวนะ                  ด้วยอานุภาพแห่งพระเดช
อิทธานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระฤทธิ์
พะลานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระกำลัง
เญยยะธัมมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระเญยยธรรม
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน
นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งโลกุตตรธรรม ๙ ประการ
อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ
อัฎฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่พระสมาบัติ ๘ ประการ
ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระอภิญญา ๖ ประการ
จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณในสัจจะ ๔
ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณมีกำลัง ๑๐ ประการ
สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตา พระกรุณา พระมุทิตาพระอุเบกขา
สัพพะปะริตตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตรทั้งปวง
ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย
ตุยหังสัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาวินัสสันตุ
เหล่าโรค โศก อุปัทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทั้งปวง ของท่าน จงสิ้นสูญไป
สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ
แม้เหล่าอันตรายทั้งปวง จงสิ้นสูญไป
สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ
สรรพดำริทั้งหลายของท่านจงสำเร็จด้วยดี
ฑีฆายุตา ตุยหัง โหตุ
ความเป็นผู้มีอายุยืนจงมีแก่ท่าน
สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทาฯ
ท่านจงเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความเป็นอยู่สิ้น ๑๐๐ ปีทุกเมื่อ
อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะ
กา เทวะตา
เทพเจ้าทั้งหลาย ผู้คุ้มครองสถิตย์อยู่ในอากาศและบรรพตไพรสณฑ์ ภูมิสถาน
แม่น้ำคงคามหาสมุทร
สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุฯ .
จงตามรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อ เทอญฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา        ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา         ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ        ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา        ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุภาเวนะ        ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา,
ความป้องกัน บาปเคราะห์ทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตได้มีแล้ว
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว,
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตร จงกำจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตเหล่านั้น
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา,
ความป้องกัน บาปเคราะห์ทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตได้มีแล้ว
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว,
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตร จงกำจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตเหล่านั้น
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา,
ความป้องกัน บาปเคราะห์ทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตได้มีแล้ว
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเวฯ
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตร จงกำจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตเหล่านั้น
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง (มงคลจักรวาลใหญ่)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง          ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา           ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ        ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต      ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา        ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา        ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน


Share this article :

+ ความคิดเห็น + 1 ความคิดเห็น

28 เมษายน 2561 เวลา 04:28

ศูนย์อบรมพัฒนาพลังชีวิตเสริมสร้างพลังจิต

อำนวยการสอนโดย อาจารย์เลิศ/ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี
และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ที่ตั้ง อาศรมบำเพ็ญบุญบารมี

วัตถุประสงค์การฝึกอบรม
เสริม สร้างพลังจิตพัฒนาพลังชีวิต ควบคุมจิตใจและการรับรู้อารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เรา และการชำระจิตให้บริสุทธิ์ สว่าง สงบ เสริมสร้างให้จิตมีความตั้งมั่น สงบ เป็นสมาธิและมีความจำดี ที่ช่วยให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น สามารถบ่มเพาะสติปัญญา ญาณ ที่จะจัดการกับจิตของตนเอง มีวิจารณญาณในการเลือกกระทำสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม แทนที่จะก่อจิตที่มีมลทิน สร้างทุจริตอกุศลกรรม อันจะทำให้พวกเขาสามารถควบคุมและเป็นนายเหนือจิตใจตนเอง ทั้งยังสามารถรับมือกับความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียด

หลักสูตรในการอบรม
ข้อ ๑ ศึกษาและอบรมให้เกิดความเข้าใจในสัจธรรมชีวิต ความสำคัญของการใช้ชีวิต ตามวิถีแห่งโลก เข้าใจธรรมชาติของโลก ในระดับที่ลึกซึ้ง สอนวิธีคิด หลักการควบคุมจิตใจ ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว เสริมสร้างคุณธรรมที่ดีงานให้เกิดกับชีวิต

ข้อ ๒ ศึกษาหลักพัฒนาชีวิต พัฒนาจิตใจ การรู้จักตัวเอง การวางเป้าหมายชีวิต การตอบสนองทางอารมณ์ต่อกระแสยั่วยุทางสังคม การคบเพื่อนฝึก จิตใจให้เป็นคนเข้มแข็งอดทนต่อ อุปสรรค ฝีกการคิดบวก เห็นคุณค่าของ การมีชีวิต อยู่เพื่อแก้ไขปัญหาการเครียด การคิดฆ่าตัวตาย สร้างความยับยั่ง วางใจ ปล่อยวางต่ออารมณ์ภายนอกภายใน

ข้อ ๓ ศึกษาทำความเข้าใจ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ ความตั้งอยู่แห่งธรรมชาติ และ กฎธรรมชาติ เข้าหลักการกระทำคือกรรมและเข้าถึงหลักการให้ผลของการกระทำ การแก้ไขผลแห่งการกระทำ อันวิบากกรรม การสร้างความดีทำบุญให้ถูกวิธีและมีผลของการกระทำดี เข้าใจธรรมชาติของชีวิต และผลกระทบกับชีวิต การสร้างความดีเหนือความดีของบุคคลทั่วไปอันเป็นบุญบารมี การวางใจเพื่อสร้างความสำเร็จผลทางจิตใจโดยตั้งจิตสัจจะ พร้อมอธิษฐาน การนำความดีไปสู่เพื่อนร่วมโลกและชีวิต โดยการแผ่เมตตาจิต และ การวางใจไม่ผูกเวรภัย มุ่งอโหสิกรรมต่อกัน เ เสริมสร้างทรัพย์อันเป็นนทุนทรัพย์ในชีวิตให้มีพลังกุศลจิต เป็นอำนาจส่งผลพัฒนาให้ชีวิตและจิตใจเจริญรุ่งเรืองอย่างกว้างไกล และถาวรสืบไป
พัฒนาชีวิต เสริมสร้างคุณภาพจิตใจ
· ให้มีแนวทางในการดำเนินชีวิต มองโลกอย่างถูกต้องและดำเนินชีวิตอย่างถูกวิธี
· เข้าใจปัญหาและพัฒนาการต่างๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตตามวัย มีการพัฒนาวิธีคิด สร้างปัญญาใคร่ครวญ
· แนะนำวิถีแห่ง ทางเดินชีวิตที่มีสาระแก่นสารไม่ผิดพลาดพร้อมเผชิญกับเหตุการณ์สถานการณ์ต่างๆ
· นำตนเองไปสู่ความรุ่งเรืองและผาสุกยึดมั่นในหลักธรรมชาติ
หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพจิต
๑ อบรมเพื่อให้จิตใจตั้งมั่นในอารมณ์เดียว โดยวิธีสมถะภาวนาให้จิตมีสมาธิ
๒ อบรมเพื่อให้เจริญสติพัฒนาปัญญาอาศัยทางสายเอก เอกายโนมัคโคในมหาสติปัฎฐาน
เริ่ม ๓ มกราคม พศ ๒๕๖๐
สนใจสอบถามหลักสูตรได้ที่ อาศรมบำเพ็ญบุญบารมี โทร 0917200183
อีเมล์ tvb9874@gmail.com

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. บทสวดมนต์เพราะ ๆ - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger